เอส.อาร์.วินเนอร์ เอ็นจิเนียริ่ง

บทความ

กระบอกลมนิวเมติก Pneumatic Air Cylinder

04-08-2566 10:56:02น.

กระบอกลมนิวเมติก Pneumatic Air Cylinder 

กระบอกลมนิวเมติก Pneumatic Air Cylinder  :  กระบอกลมนิวเมติก/กระบอกสูบนิวเมติก เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมอัดให้เป็นพลังงานกล ในลักษณะของการเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง หรือทำให้หมุน 90, 180, 270 หรือ 360 องศา ผลิตด้วย เหล็ก อลูมิเนียม ทองเหลือง หรือ สแตนเลส ลักษณะแบบท่อชนิดไม่มีตะเข็บ โดยกระบอกลมนิวเมติก จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกระบอกลมที่จะนำไปใช้ในเครื่องจักรหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ




กระบอกลมนิวเมติก ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการทำงาน 

1. กระบอกลมนิวเมติก เคลื่อนที่แบบแนวเส้นตรง

2. กระบอกลมนิวเมติก เคลื่อนที่แบบแนวเส้นรอบวง

3. กระบอกลมนิวเมติก ที่ทำงานนอกเหนือจากเส้นตรงหรือเส้นรอบวง ซึ่งอาจสั่งผลิตเป็นพิเศษ

             นอกจากนี้ยังมีกระบอกลมนิวเมติกอีกหลายประเภท  เช่น  กระบอกลมแบบไม่มีก้านสูบ (Rodless Cylinder)  กระบอกลมแบบสไลด์ (Slide Table Cylinder)  กระบอกลมแบบแคลมป์ (Clamp Cylinder)  กระบอกลมแบบที่มีตัวไกด์ (Guided Cylinder)  กระบอกลมแบบแกนคู่/สองแกน (TN Double-Shaft Cylinder)  กระบอกลมโรตารี่ (Rotary Cylinder)


ส่วนประกอบของกระบอกลมนิวเมติก

1. ลูกสูบ                            2. ก้านสูบ

3. ฝาครอบหน้า-หลัง          4. เสื้อสูบ


กระบอกลมทำงานทางเดียวจะมีสปริงอยู่ภายด้านใน จะอยู่ด้านฝาหน้าหรือฝาหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบการใช้งานสำหรับงานนั้น ๆ ภายในกระบอกลมนั้นจะต้องมีพื้นที่เก็บสปริงด้วย ค่า K ของสปริงขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ  ส่วนใหญ่แล้วกระบอกลมทำงานทางเดียวนิยมใช้กับกระบอกลมที่มีขนาดเล็ก ข้อเสียของกระบอกลมทำงานทางเดียวนั้นเมื่อมีการใช้งานเป็นเวลานาน ๆ  สปริงดันกลับจะมีปัญหาทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับไม่สุดสโต๊ก  การเลือกใช้กระบอกลมนั้นจำเป็นจะต้องรู้ว่ากระบอกสูบนั้นจะไปใช้กับโหลดแบบไหน  ต้องการใช้แรงที่กระทำกับโหลดนั้นเท่าไร ถึงจะทำให้โหลดเคลื่อนที่ได้  ดังนั้นผู้ใช้งานต้องรู้ว่าน้ำหนักของชิ้นงานที่เราจะนำกระบอกลมไปใช้งานร่วมด้วยนั้นมีขนาดเท่าไร แล้วก็มาเลือกขนาดของกระบอกลมเพื่อนำไปใช้งานนั้น ๆ  โดยสามารถทำการคำนวณหาแรงจากสูตร

F = P x A

   F = แรงที่กระทำต่อโหลด มีหน่วยเป็นนิวตัน

   P = ความดันลมอัด มีหน่วยเป็นบาร์

   A = พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ มีหน่วยเป็นตารางเซนติเมตร

หมายเหตุ :  พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบมี  2  ด้าน

   1. ด้านที่มีก้านสูบ จะต้องนำพื้นที่หน้าตัดของก้านสูบมาลมออกด้วย

   2. ด้านที่ไม่มีก้านสูบ


กระบอกลมทำงานสองทาง จะไม่มีสปริงอยู่ภายใน จะอาศัยแรงดันลมอัดเป็นตัวพาลูกสูบเคลื่อนที่เข้า-ออก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กระบอกลมทำงานสองทาง โครงสร้างของกระบอกลมทำงานสองทาง มีลักษณะคล้ายกับกระบอกลมทำงานทางเดียว