เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโซลินอยด์วาล์ว 2/2 ก่อนจะเลือกใช้งานกันดีกว่า
บทความนี้เกิดจากผู้เขียนเองจำหน่ายโซลินอยด์ 2/2 ทาง ให้แก่ผู้ใช้งานอยู่บ่อยๆ แล้วก็เกิดความผิดผลาดอยู่บ่อย ๆ เช่นกัน จึงเกิดบทความนี้ขึ้นมา
ใบบทความนี้จะขอเขียนถึงโซลินอยด์ เฉพาะแบบ 2/2 ทาง ( Soleniod Valve ) สัญลักษณ์ 2/2 ทาง
การทำงานของโซลินอยด์วาล์วชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิด
1. ปกติปิด
2. ปกติเปิด
ในบทความนี้จะขอเขียนถึง แบบปกติปิด เท่านั้น
การทำงานของวาล์วปกติปิด ก็คือ เมื่อจ่ายไฟไปยังโซลินอยด์นั้น จะทำให้โซลินอยด์เปิด
สิ่งที่ต้องการรู้ก่อนจะเลือกใช้งานของโซลินอยด์
1. แรงดันใช้งานต่ำสุด กี่บาร์ สูงสุด กี่บาร์
ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ ค่าแรงดันสูงสุด เลยลืมค่าแรงดันต่ำสุดไปเลย
แรงดันต่ำสุดสำคํญยังไงล่ะ แล้วทำไมต้องรู้ว่าแรงดันต่ำสุดเท่าไรล่ะ
ในระบบที่ใช้ปั๊มเป็นเครื่องต้นกำลังเป็นตัวจ่ายของไหลหรือของเหลว แรงดันต่ำสุดไม่ค่อยมีปัญหา แรงต่ำสุดจะมีปัญหาเกี่ยวกับของเหลวที่ปล่อยไหลตาม กาวิตี้ โดยความสูงที่ปล่อยลงมา ความสูง สูงไม่มากมากพอจึงไม่เกิดแรงดัน หรือ สูงมากพอ แต่ตำ่แหน่งติดตั้งของโซลินอยด์ ติดกับภาชนะเก็บของแล้วมากเกินไป หรือ โซลินอย์ที่ใช้งานแก๊ส ที่เป็นบ่อหมัก จะมีแรงดันต่ำมาก
แรงดันต่ำสุด สำคํญตรงที่เราเลือกใช้ชนิดของโซลินอยด์วาล์ว ว่าเป็นแบบ ไพรอท หรือ ไดเร็ค มันจะเกิดปัญหาก็ตรงนี้ล่ะ เราเลือกแบบ ไพรอท ไปใช้กับงานที่แรงดันต่ำมาก หรือ ไม่มีแรงดัน ส่วนใหญ่ก็จะผิดผลาดตรงนี้บ่อย เพราะไม่รู้ว่า ผู้ใช้งานเอง นำไปใช้งานอย่างไร
2. ใช้กับแรงดันไฟเท่าไร
ตรงนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยผิดผลาด ผู้ใช้งานเองก็รู้ อยู่แล้วว่าแหล่งจ่ายไฟของตนเองเป็นแบบไหน เช่น โซลินอยด์วาล์ว 24 VDC โซลินอยด์วาล์ว 12 VDC โซลินอยด์วาล์ว 220 VAC
3. ชนิดของมีเดีย หรือ ของเหลวที่ไหลผ่านตัวของโซลินอยด์วาล์ว
โซลินอย์วาล์วน้ำ โซลินอยด์วาล์วลม หรือ โซลินอยด์ใช้งานสารเคมี
ทำไมเราต้องรู้ว่า ของเหลวที่ไหลผ่านโซลินอยด์ เป็นชนิดอะไรล่ะ
การที่เราต้องรู้ว่าของเหลวไหลผ่านนั้นคืออะไร ก็เพราะว่า จะต้องเลือกชนิดของซีลว่าเป็นแบบไหน NER หรือ EPDM ใช้แบบแผ่นไดอะแฟรม หรือ แบบลูกสูบ ตัวเรือนเป็น พลาสติก ทองเหลือง หรือ แบบ สเตนเลท 304 หรือ 316
เพราะฉนั้น ต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้น จะได้เลือกโซลินอยด์ให้เหมาะกับการใช้งาน
4.เวลาในการเปิด-ปิด การใช้งาน
ระยะเวลาในการเปิด-ปิด ก็สำคัญ โซลินอยด์นั้นจะต้องการ เปิด-ปิด บ่อยแค่ไหนก็ได้ แต่โซลินอยด์จะไม่เหมาะสมกับการ เปิด เป็นเวลานานๆ เช่น 3 ชั่วโมง หรือ 8 ชั่วโมง ต่อ ครั้ง เช่น
นำโซลินอยด์ไป เปิด-ปิด การเติมน้ำในแท้งค์ขนาดใหญ่ จนเต็ม พอน้ำเต็มแท้งค์ แล้วก็ปิดโซลินอยด์วาล์ว การที่นำโซลินอยด์ไปใช้งานแบบนี้ ส่วนใหญ่โซลินอยด์จะ เสียบ่อยมากเพราะแท้งค์มีขนาดใหญ่มาก ต้องจ่ายไฟเป็นเวลานานมาก คอยล์จึงไหม้อยู่ตลอด
5.ขนาดของเกลียว หรือ ขนาดของข้อต่อ
ส่วนใหญ่แล้วข้อต่อของโซลินอยด์วาล์วจะเป็นแบบเกลียว NPT ซี่งมีขนาด 1/2" - 2" ส่วนแบบหน้าแปลนก็มี แต่ไม่นิยมนำมาใช้งาน
โซลินอยด์วาล์วแบบปกติปิดยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด
1.แบบ ไดเร็ค
2.แบบ ไพรอท
โซลินอย์วาล์วแบบ ไดเร็ค
หลักการทำงานของโซลินอยด์แบบ ไดเร็ค
เมื่อขดลวดได้รับสัญญานไฟฟ้าแล้วจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำให้ปลั๊กอุตรูยกตัวขึ้น ทำให้ความดันบนแผ่นไดอะแฟรมลดลง แผ่นไดอะแฟรมจะเกิดการยกตัวขึ้นจากรูช่องว่างที่ทำให้เกิดมีเดีย (ของเหลว, ลม) ไหลผ่านไปได้
โซลินอยด์วาล์วชนิดนี้ เมื่อมีแรงันในระบบเหลือ 0 บาร์ โซลินอยด์ชนิดนี้ก็ยังคงสามารถเปิด-ปิด ได้ปกติ
หลักการทำงานของโซลินอยด์แบบ ไพรอท
เมื่อโซลินอยด์วาล์วได้รับสัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้น ต่อมาจะทำให้เกิดแรงดึงดูด ตัวปลั๊กที่ปิดรูเล็กเกิดการยกตัวขึ้นทำให้แรงดันในระบบเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้แผ่นไดอะแฟรม หรือ ชุดลูกสูบยกตัวขึ้น จึงทำให้เหลวไหลผ่านช่องทางหลัก
โซลินอยด์วาล์วชนิดนี้ไม่สามารถทำงานที่แรงดัน 0 บาร์ได้ ดังนั้นแรงดันในระบบจึงต้องมีแรงดันอย่างน้อย 0.5-1 บาร์ จึงจะสามารถทำงานได้