กระบอกลม / กระบอกสูบนิวเมติก
[ Air Cylinder / Pneumatic Cylinder ]
กระบอกลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดให้เป็นพลังงานกล
ลักษณะในการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงและวงกลม ตัวกระบอกลมมักจะทำด้วยท่อชนิดไม่มีตะเข็บ
เช่น เหล็ก อลูมิเนียม
ทองเหลือง สแตนเลส
ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน
ภายในท่อจะต้องเรียบไม่มีรอย
เพื่อไม่ให้มีการรั่วซึมระหว่างลูกสูบ
กระบอกสูบจะประกอบด้วย
1. ลูกสูบ
2. ก้านสูบ
3.ฝาครอบหน้า-หลัง
4.เสื้อสูบ
กระบอกสูบสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด
1.กระบอกสูบทำงานทางเดียว ( Single acting )
2.กระบอกสูบทำงานสองทาง ( double acting )
กระบอกสูบทำงานทางเดียวจะมีสปริงอยู่ภายใน จะอยู่ด้านฝาหน้าหรือฝาหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบใช้งานสำหรับงานนั้นๆ ภายในกระบอกลมนั้นจะต้องมีห้องเอาไว้สำหรับเก็บสปริงด้วย ค่า K ของสปริงขึ้นอยู่กับงานนั้นๆ ส่วนใหญ่ กระบอกสูบทำงานทางเดียวนิยมใช้กับกระบอกลมที่มีขนาดเล็ก ข้อเสียของกระบอกสูบทำงานทางเดียวนั้นเมื่อมีการใช้งานเป็นเวลานานๆ สปริงดันกลับจะมีปัญหาทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับไม่สุดสโต๊ก
การเลือกใช้กระบอกสูบนั้น จะต้องรู้ว่ากระบอกสูบนั้นจะไปใช้กับโหลดแบบไหน ต้องการใช้แรงที่กระทำกับโหลดนั้นเท่าไร ถึงจะทำให้โหลดเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นเราต้องรู้ว่าน้ำหนักของชิ้นงานที่เราจะนำกระบอกสูบไปใช้งานร่วมด้วยนั้นมีขนาดเท่าไร แล้วเราก็มาเลือกขนาดของกระบอกสูบ เพื่อนำไปใช้งาน โดยคำนวณหาแรงจากสูตร
F=PxA
F= แรงที่กระทำต่อโหลด มีหน่วยเป็นนิวตัน
P=ความดันลมอัด มีหน่วยเป็นบาร์
A=พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ มีหน่วยเป็นตารางเซนติเมตร
หมายเหตุ
พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบมี 2 ด้าน
1.ด้านที่มีก้านสูบ จะต้องนำพื้นที่หน้าตัดของก้านสูบมาลมออกด้วย
2.ด้านที่ไม่มีก้านสูบ
กระบอกสูบทำงานสองทาง จะไม่มีสปริงอยู่ภายใน จะอาศัยแรงดันลมอัดเป็นตัวพาลูกสูบเคลื่อนที่เข้า-ออก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กระบอกสูบทำงานสองทาง โครงสร้างของกระบอกสูบทำงานสองทาง จะมีลักษณะคล้ายกับกระบอกสูบทำงานทางเดียว