เอส.อาร์.วินเนอร์ เอ็นจิเนียริ่ง

บทความ

มาทำความรู้จักเกี่ยวกับเพรสเชอร์สวิทช์กันเถอะ

21-03-2563 11:57:55น.

มาทำความรู้จักกับเพรสเชอร์สวิทซ์กันเถอะ

           เพรสเชอร์สวิทซ์คืออุปกรณ์ควบคุมความดัน โดยอาศัยแรงดันควบคุมกลไกภายใน ในการตัด-ต่อ สวิทช์ควบคุมระบบไฟฟ้า  ในปัจจุบันนั้นเพรสเชอร์สวิทช์มีหลายแบบเช่น

      1.เพรสเชอร์สวิทช์โดยอาศัยความแข็งสปริงในการตัดต่อ เพรสเชอร์สวิทช์แบบนี้นิยมใช้งานโดยทั่วไป เพราะมีราคาถูก ใช้งานง่าย

      2.เพรสเชอร์สวิทช์แบบดิจิตอลจะมีหน้าจอเป็นLCD แสดงเป็นตัวเลขค่าของความดัน สามารถเลือกใช้หน่วยในการใช้งาน เอาท์พุทที่ออกมาจะต้องเลือกใช้งานว่าต้องการใช้แบบไหน

      3.เพรสเชอร์ทรานมิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมความดันอีกชนิดหนึ่ง โดยทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานความดันให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ในรูปของแรงดันไฟฟ้า หรือ กระแสไฟฟ้า เป็นสัญญาณมาตราฐาน ( Output 4-20 mA, 0-10 Vdc )

 เรามาลองปรับตั้งเพรสเชอร์สวิทช์แบบต่างๆกันดีกว่า

      1.เพรสเชอร์สวิทช์  Sunny SP101

         เป็นเพรสเชอร์สวิทช์ใช้กับปั๊มลมลูกสูบแรงดันไม่เกิน 10 บาร์ มีคอนเทคไฟฟ้า 2 ชุด

                                                                                 

          หมายเลข1 จะเป็นตัวปรับเพิ่ม หรือ ลด แรงดันในการตัด โดยอาศัยปรับความแข๊งของสปริง เมื่อต้องการเพิ่มแรงดันจะต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา แต่เมื่อต้องการลดแรงดันจะต้องหมุนทวนเข็มนาฬิกา

          หมายเลข2 จะเป็นตัวปรับระยะห่างในการต่อ บางครั้งจะเรียกว่าค่าดิฟ

  หมายเหตุ

          ในการปรับเพรสเชอร์ชนิดนี้จะไม่มีตัวเลขบ่งบอกว่าเพรสเชอร์สวิทช์จะตัดต่อที่แรงดันที่เท่าไร จะต้องอาศัยเพรสเชอร์เกจของระบบเป็นส่วนประกอบกับการตั้งค่าควบคู่ไปด้วย


      2.เพรสเชอร์สวิทช์ UEDA PSP-200A

           เพรสเชอร์สวิทช์ UEDA จะใช้กับแรงดันไม่เกิน 17 บาร์ มีคอนเทคไฟฟ้า 2 ชุด

                                                                       

           หมายเลข1 จะเป็นตัวปรับเพิ่มแรงดันหรือลดแรงดันในการตัดโดยอาศัยการปรับความแข็งของสปริง ก่อนจะปรับความแข็งของสปริงนั้นจะต้องคลายน็อตล็อคก่อน แล้วถ้าต้องการเพิ่มแรงดันให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา ถ้าต้องการลดแรงดันให้หมุนตามเข็มนาฬิกา

           หมายเลข2 จะเป็นตัวปรับระยะห่างในการต่อ 

 หมายเหตุ

          ในการปรับเพรสเชอร์ชนิดนี้จะไม่มีตัวเลขบ่งบอกว่าเพรสเชอร์สวิทช์จะตัดต่อที่แรงดันที่เท่าไร จะต้องอาศัยเพรสเชอร์เกจของระบบเป็นส่วนประกอบกับการตั้งค่าควบคู่ไปด้วย

      3.เพรสเชอร์สวิทซ์ Danfoss KP36

          เพรสเชอร์สวิทซ์สวิทซ์ Danfoss KP36 จะใช้กับแรงดันไม่เกิน 14 บาร์ มีคอนเทคไฟฟ้า 1 ชุด ก่อนที่จะทำการปรับตั้งค่านั้นจะต้องถอดแผ่นล็อคออกก่อน
                                                                         
            หมายเลข1 จะเป็นตัวเพิ่มหรือลดแรงดัน โดยการปรับสกรูหัวแฉกแล้วดูตัวเลขของย่านวัดประกอบการตั้งค่า
            หมายเลข2 จะเป็นตัวปรับระยะห่างในการต่อโดยปรับสกรูทองเหลืองแล้วดูตัวเลขย่านวัดประกอบการตั้งค่า

      4.เพรสเชอร์สวิทซ์ Danfoss KP35

          เพรสเชอร์สวิทซ์สวิทซ์ Danfoss KP35 จะใช้กับแรงดันไม่เกิน 7.5 บาร์ มีคอนเทคไฟฟ้า 1 ชุด ก่อนที่จะทำการปรับตั้งค่านั้นจะต้องถอดแผ่นล็อคออกก่อน

                                                                           

            หมายเลข1 จะเป็นตัวเพิ่มหรือลดแรงดัน โดยการปรับสกรูหัวแฉกแล้วดูตัวเลขของย่านวัดประกอบการตั้งค่า

            หมายเลข2 จะเป็นตัวปรับระยะห่างในการต่อโดยปรับสกรูทองเหลืองแล้วดูตัวเลขย่านวัดประกอบการตั้งค่า

     5.เพรสเชอร์สวิทซ์ Danfoss RT110

        เพรสเชอร์สวิทช์ Danfoss RT110 จะใช้กับแรงดันไม่เกิน 3 บาร์ มีคอนเทคไฟฟ้า 1 ชุด เพรสเชอร์สวิทช์รุ่นนี้สามารถใช้มือหมุนได้เลย

                                                                             

           หมายเลข1 จะเป็นตัวเพิ่มหรือลดแรงดันโดยดูตัวเลขที่ย่านวัดประกอบกับการตั้งค่า

           หมายเลข2 จะเป็นตัวปรับระยะห่างในการต่อ โดยการหมุนจะมีตัวเลขบอกค่าของระยะห่างในการต่อ